สุขภาพเกี่ยวกับหู

ภัยเงียบใกล้ตัว

 หากไม่อยากใช้เครื่องช่วยฟัง อย่าเสียบหูฟังเป็นเวลานาน ภัยเงียบใกล้ตัว

           หากเรามีเวลาออกไปเดินดูผู้คนบนท้องถนน บนรถเมล์ประจำทาง หรือแม้แต่บนรถไฟลอยฟ้า หรือบนรถไฟฟ้าใต้ดิน คุณจะเห็นว่าเกือบร้อยละ 90 จะใส่หูฟังกันแทบทุกคนไม่ว่าจะเป็นเชื่อมต่อมาจากโทรศัพท์มือถือ  จากI-pod หรือแม้แต่เครื่องเล่น MP3 ซึ่งเรียกได้ว่าเราเดินทางไปที่ไหนในประเทศไทย เราจะเห็นการใช้หูฟังกันเกือบทุกคน หลายครั้งที่มีข่าวออกมาว่าเกิดอุบัติเหตุกับคนที่ใส่หูฟังเพราะพวกเขาไม่ได้ยินเสียงบีบแตร เสียงตะโกนเตือน เพราะมัวแต่ใส่หูฟัง จนบางครั้งเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับลักษณะของหูฟังจะมี 3 แบบคือแบบใส่เข้าไปในหู  แบบสวมแนบพอดีหูและแบบครอบที่ใบหู

         กลุ่มคนที่นิยมใช้หูฟังมากที่สุดคือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใส่หูฟังเพื่อฆ่าเวลาขณะที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง อาจจะเป็นการใช้เพื่อดูหนัง หรือฟังเพลง รวมถึงการเล่นเกม เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่าการใช้หูฟังเป็นการเก็บเสียงได้ดี เพื่อไม่ให้เสียงที่เรากำลังจะฟังไปรบกวนผู้อื่น แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการใช้หูฟังบ่อยๆเป็นเวลานานๆนั้นก็มีโทษต่อคนที่ใช้หูฟังเหมือนกัน หูของคนเราสามารถรับฟังเสียงงที่ดังได้ไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่หากเรามีการใช้หูฟังในที่สาธารณะส่วนจะมีการเพิ่มเสียงให้ดังมากขึ้น

เพราะบรรยากาศรอบนอกจะเสียงดังมากจนเราอาจไม่ได้ยินเสียงจากหูฟัง ดังนั้นคนส่วนมากจึงมีการเพิ่มระดับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลกันเกือบทุกคน และสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินของหู หลายคนอาจพบปัญหาหูตึง หรือมีเสียงวิ้งๆภายในหู มีอาการเจ็บหู รวมถึงหูอักเสบ

ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังเป็นโรคเกี่ยวกับภายในช่องหู จำเป็นต้องให้หมอเฉพาะทางตรวจสอบ หากปล่อยทิ้งไว้ รอให้หายเอง อาจมีผลในระยะยาวมีผลต่อเยื่อแก้วหู ซึ่งหากยังปล่อยทิ้งไว้ทำให้หูหนวกได้ แล้วเมื่อหูหนวกจะส่งผลต่อการได้ยินของคุณ ซึ่งหากคุณหมอรักษาอาการหูหนวกแล้วไม่หาย คุณจะต้องหันมาใช้ เครื่องช่วยฟัง ทันทีเพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้เหมือนเดิม จากที่กล่าวมาคุณคงรู้ถึงอันตรายของการใช้ที่เสียบหูฟังกันบ้างแล้ว ดังนั้นหากยังไม่อยากต้องใช้เครื่องช่วยฟังตั้งแต่อายุยังน้อยควรมีการปรับเสียงให้ไม่เกิน 85  เดซิเบลและที่สำคัญไม่ควรเสียบหูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง

สุขภาพเกี่ยวกับหู

ทำยังไงถ้าแมลงเข้าหู

           สำหรับในเด็กเล็กๆเราอาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการที่เด็กนำอาหารเข้าปาก เข้าหู ระวังเรื่องการเอานิ้วจิ้มตา เพราะเด็กยังทำอะไรโดยไม่รู้เรื่องรู้ราว หรือบางครั้งแม้แต่ตัวเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่เอง นอนเล่นอยู่บนพื้นบ้านหรือที่นอนอยู่ดีๆอาจมีแมลงไต่เข้าหูหรือมีแมลงบินเข้าหูก็ได้

โดยมดหรือแมลงที่เข้าไปในรูหูอาจจะมีการกัดข้างในหูทำให้ภายในหูได้รับบาดเจ็บได้หรือหากว่าแมลงหรือมดออกมาไม่ได้ซากของแมลงหรือมดอาจเน่าเปื่อยอยู่ในหู ทำให้หูสกปรกแล้วติดเชื้อขึ้นมาได้

เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีแมลงหรือมดเข้าไปในรูหู

สำหรับคำถามนี้นั้น คำตอบคือเราจะรู้ด้วยตัวของเราเองเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม อย่างแมลงหรือมดเข้าไปในรูหู เพราะอย่างแรก เราจะรู้สึกเหมือนมีอะไรไต่อยู่ข้างในรูหู บางครั้งมีอาการคันรูหู หรือรู้สึกเจ็บข้างในรูหู หรือในบางครั้งเราจะรู้สึกว่ามีเสียงดังหวี่ๆเหมือนมีอะไรร้องอยู่ในหู และหากเรารู้สึกเจ็บปวดมากๆ

ควรรีบไปพบแพทย์ให้รักษาด้วยการนำสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากหูโดยเร็วเพื่อป้องกันการเกิดหูอักเสบหรือการติดเชื้อ สำหรับการตรวจสอบของแพทย์ว่ามีอะไรอยู่ในหูของคนไข้หรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการ ส่องไฟฉายเข้าไปดูในรูหู หรือหากมองเห็นไม่ค่อยชัดทางแพทย์จะมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับส่องเข้าไปในรูหูเพื่อหาสาเหตุว่า อาการปวดหูเกิดมาจากอะไร

 

สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราจะรู้ได้ทันที่หากมีอะไรเข้าหูแต่หากเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องหรือยังไม่สามารถสื่อสารกับเราได้ เราเองคงต้องคอยสังเกตอาการของเด็กให้ดีเช่น หูของเด็กมีอาการบวมแดง มีน้ำหนองไหล หรือมีเลือดไหลออกมาจากหูหรือไม่ หรือเข้ามีอาการงอแงแล้วเอามือจับที่หูหรือไม่

 

หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบพามาพบแพทย์ทันที  หากเราพบว่ามีแมลงเข้าหูสิ่งที่ควรทำคือการไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้นำแมลงออกจากหูให้เพราะเราไม่อาจมั่นใจได้ว่าหากเรานำแมลงออกมาเองชิ้นส่วนของแมลงจะออกหมดหรือไม่ เราไม่ควรหาอะไรแหย่เข้าไปในหูเพราะแมลงอาจจะหนีเข้าไปลึกขึ้นกว่าเดิมจะทำให้แพทย์เอาออกยากขึ้น

หากอยากทดลองนำแมลงออกจากหูด้วยตัวเองก่อนให้นอนตะแคงเอาหูด้านที่มีแมลงอยู่ข้างในขึ้น แล้วลองเอาไฟฉายส่องเพราะแมลงมักชอบแสงไฟ มันจะเดินออกมาตามแสงไฟเอง แต่หากไม่ออกมาแนะนำไปพบแพทย์ดีที่สุด

 

สนับสนุนเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพโดย  เครื่องช่วยฟัง