หากไม่อยากใช้เครื่องช่วยฟัง อย่าเสียบหูฟังเป็นเวลานาน ภัยเงียบใกล้ตัว
หากเรามีเวลาออกไปเดินดูผู้คนบนท้องถนน บนรถเมล์ประจำทาง หรือแม้แต่บนรถไฟลอยฟ้า หรือบนรถไฟฟ้าใต้ดิน คุณจะเห็นว่าเกือบร้อยละ 90 จะใส่หูฟังกันแทบทุกคนไม่ว่าจะเป็นเชื่อมต่อมาจากโทรศัพท์มือถือ จากI-pod หรือแม้แต่เครื่องเล่น MP3 ซึ่งเรียกได้ว่าเราเดินทางไปที่ไหนในประเทศไทย เราจะเห็นการใช้หูฟังกันเกือบทุกคน หลายครั้งที่มีข่าวออกมาว่าเกิดอุบัติเหตุกับคนที่ใส่หูฟังเพราะพวกเขาไม่ได้ยินเสียงบีบแตร เสียงตะโกนเตือน เพราะมัวแต่ใส่หูฟัง จนบางครั้งเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับลักษณะของหูฟังจะมี 3 แบบคือแบบใส่เข้าไปในหู แบบสวมแนบพอดีหูและแบบครอบที่ใบหู
กลุ่มคนที่นิยมใช้หูฟังมากที่สุดคือ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา กลุ่มคนวัยทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะใส่หูฟังเพื่อฆ่าเวลาขณะที่เดินทางไปยังสถานที่ต่าง อาจจะเป็นการใช้เพื่อดูหนัง หรือฟังเพลง รวมถึงการเล่นเกม เพราะคนส่วนใหญ่เชื่อว่าการใช้หูฟังเป็นการเก็บเสียงได้ดี เพื่อไม่ให้เสียงที่เรากำลังจะฟังไปรบกวนผู้อื่น แต่หลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการใช้หูฟังบ่อยๆเป็นเวลานานๆนั้นก็มีโทษต่อคนที่ใช้หูฟังเหมือนกัน หูของคนเราสามารถรับฟังเสียงงที่ดังได้ไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่หากเรามีการใช้หูฟังในที่สาธารณะส่วนจะมีการเพิ่มเสียงให้ดังมากขึ้น
เพราะบรรยากาศรอบนอกจะเสียงดังมากจนเราอาจไม่ได้ยินเสียงจากหูฟัง ดังนั้นคนส่วนมากจึงมีการเพิ่มระดับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบลกันเกือบทุกคน และสิ่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการมีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินของหู หลายคนอาจพบปัญหาหูตึง หรือมีเสียงวิ้งๆภายในหู มีอาการเจ็บหู รวมถึงหูอักเสบ
ซึ่งอาการเหล่านี้บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าคุณกำลังเป็นโรคเกี่ยวกับภายในช่องหู จำเป็นต้องให้หมอเฉพาะทางตรวจสอบ หากปล่อยทิ้งไว้ รอให้หายเอง อาจมีผลในระยะยาวมีผลต่อเยื่อแก้วหู ซึ่งหากยังปล่อยทิ้งไว้ทำให้หูหนวกได้ แล้วเมื่อหูหนวกจะส่งผลต่อการได้ยินของคุณ ซึ่งหากคุณหมอรักษาอาการหูหนวกแล้วไม่หาย คุณจะต้องหันมาใช้ เครื่องช่วยฟัง ทันทีเพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้เหมือนเดิม จากที่กล่าวมาคุณคงรู้ถึงอันตรายของการใช้ที่เสียบหูฟังกันบ้างแล้ว ดังนั้นหากยังไม่อยากต้องใช้เครื่องช่วยฟังตั้งแต่อายุยังน้อยควรมีการปรับเสียงให้ไม่เกิน 85 เดซิเบลและที่สำคัญไม่ควรเสียบหูฟังนานเกิน 1 ชั่วโมง